Mobile : 097-096-2584 

Tel. : 02-961-6220-1 

Line@ ID : @nidapro  


 

ยุทธ์ศาสตร์ SRM เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาในระบบจัดซื้ออย่างยั่งยืน พิมพ์ อีเมล

ยุทธ์ศาสตร์ SRM เพื่อแก้ปัญหา

และป้องกันปัญหาในระบบจัดซื้ออย่างยั่งยืน

SRM Strategy for

Sustainable Effective Proccurement System
 

หลักการและเหตุผล

          การทำงานจัดซื้อจะต้องติดต่อพึ่งพาซัพพลายเออร์ ถ้าเลือกคบได้ถูกต้องและสร้างความสัมพันธ์

ได้ถูกรูปแบบ ผลงานจัดซื้อก็มีประสิทธิภาพสูง ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคบค้าเหมือนกันไปหมด ทุกเจ้า

แต่นักจัดซื้อจะแยกแยะได้อย่างไรว่าควรคบกับใครอย่างไร และควรคบรายเดียวหรือสองสามรายคู่ขนานกันไป

          หลักสูตรนี้จะช่วยให้นักจัดซื้อและผู้บริหารทุกฝ่ายในบริษัทเข้าใจปัญหาทั้งของตนเองและเข้าใจวิธีคิด

ของซัพพลายเออร์ อีกทั้งสามารถมองตลาดอย่างรู้เท่าทัน อันจะนำไปสู่การทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ

และสามารถลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน ฝ่ายขายยุคใหม่เขาสร้างยอดขายและความเติบโตอย่างยั่งยืนโดย

ใช้ระบบ CRM - Customer Relationship Management ส่วนฝ่ายจัดซื้อยุคใหม่ก็ต้องรู้จักนำ SRM -

 Supplier Relationship Management มาใช้เพื่อให้เกิดผลดีต่อบริษัทและอย่างยั่งยืน ยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจ

และการเมืองผันผวน ก็ยิ่งจำเป็นจะต้องเข้าใจการบริหารความเสี่ยงจากซัพพลายเออร์ให้ถูกต้อง

         หลักสูตรนี้เข้าฟังได้ทั้งฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และ

จะเลือกเข้าทั้งสองวันหรือเพียงวันใดวันหนึ่งก็ได้ บริษัทจะได้ประโยชน์สูงสุดหากทุกฝ่าย ในบริษัท

ทำความเข้าใจ SRM ไปในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นการเสริมพลังเมื่อนำไปใช้งานและได้รับผลสำเร็จ

ดังมุ่งหมาย รวดเร็วยิ่งกว่าการปล่อยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการไปเพียงฝ่ายเดียว

 

 

 

หัวข้อสัมมนาวันแรก (09.00 – 16.00 น.)

1.  การลดต้นทุนในการจัดซื้อแบบดั้งเดิมที่มีแต่รอยแค้นและได้ประโยชน์ฉาบฉวยนั้นคืออย่างไร

2.  หลักในการใช้ประโยชน์จาก SRM และ CRM เพื่อลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

3.  ยุทธศาสตร์การจัดความสำคัญของสิ่งที่ต้องซื้อโดย Supply Positioning Model

4.  รู้เขารู้เรา ทำความเข้าใจซัพพลายเออร์ว่าเขาใช้ยุทธศาสตร์จัดความสำคัญลูกค้า

     แบบ Supplier Preferencing Model อย่างไร

5.  ทำงานจัดซื้อเชิงรุก เพื่อวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การจัดซื้อโดยใช้ Market Management Matrix

6.  สัมพันธภาพ 9 ประเภทระหว่างจัดซื้อกับซัพพลายเออร์ ในการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์

                    -  Adversarial Relationship

                    -  Arms Length Relationship

                    -  Transactional Relationship

                    -  Closer Tactical Relationship

                    -  Single Sourced Relationship

                    -  Outsourced Relationship

                    -  Strategic Alliance Relationship

                    -  Partnership Relationship

                    -  Co-destiny Relationship

7.  การบริหารความเสี่ยงของสัมพันธ์ภาพ 2 แบบคือ Tactical & Strategic Relationship

8.  วิธีพิจารณาอย่างเป็นระบบในการซื้อของจากซัพพลายเออร์เจ้าเดียวหรือซื้อควบกันไปหลายเจ้า

     และเหตุที่สมควรเปลี่ยนซัพพลายเออร์

9.  พฤติกรรมของฝ่ายจัดซื้อและซัพพลายเออร์

10.การบริหารความขัดแย้งและการแก้ไข และวิธียุติความสัมพันธ์ต่อกัน

11.ความแตกต่างและความยุ่งยากในการพัฒนาความสัมพันธ์ (Relationship Development)

     และการพัฒนาซัพพลายเออร์ (Supplier Development)

 

หัวข้อสัมมนาวันที่สอง (09.00 – 16.00 น.)

1.  การนำ Pareto Analysis มาใช้ประโยชน์ร่วมกับ Supply Positioning Model

2.  ตัวอย่างวิธีการจัดลำดับมูลค่าของสินค้า และบริการที่เราจัดซื้อและว่าจ้างให้ถูกต้อง

3.  ตัวอย่างวิธีจัดตำแหน่งของสินค้า และบริการลงใน Supply Positioning Model

4.  กำหนดยุทธวิธีในการจัดซื้อและว่าจ้าง Routine Items (Tactical Acquisition)

5.  กำหนดยุทธวิธีในการจัดซื้อและว่าจ้าง Leverage Items (Tactical Profit)

6.  กำหนดยุทธวิธีในการจัดซื้อและว่าจ้าง Bottleneck Items (Strategic Security)

7.  กำหนดยุทธวิธีในการจัดซื้อและว่าจ้าง Critical Items (Strategic Critical)

8.  วิธีสร้างสัมพันธ์ภาพแบบ Partnership นั้น แต่ละฝ่ายต้องทำอย่างไร

9.  บางกรณีฝ่ายจัดซื้อต้องทำตัวเป็นลูกค้าที่ดี แต่ไม่ใช่ยอมเป็นลูกไล่ให้ซัพพลายเออร์

10.วิธีแก้ปัญหาซัพพลายเออร์ผูกขาด (Monopoly) หรือมีน้อยเจ้า (Oligopoly)

11.หลักคิดในการตัดสินใจซื้อจากซัพพลายเออร์รายเดียวเป็นเจ้าประจำ (Single Source)

12.หลักคิดในการตัดสินใจซื้อจากซัพพลายเออร์ควบกันไปสองราย (Dual Source)

13.วิธีตัดสินใจเรื่องควรมีสัมพันธภาพแบบใดกับซัพพลายเออร์รายใด

14.วิธีตัดสินใจเรื่องควรทำสัญญาซื้อแบบใด

15.วิธีตัดสินใจเรื่องควรใช้กลยุทธ์แบบใด

16.วิธีตัดสินใจเรื่องควรมองหาซัพพลายเออร์แบบไหน

17.วิธีตัดสินใจเรื่องควรใช้นักจัดซื้อแบบใด

 

 

 

วิทยากร

คุณเชี่ยวชาญ รัตนามหัทธนะ C.P.M.,A.P.P.,MCIPS

กรรมการผู้จัดการ สถาบันฝึกอบรมและสัมมนาวิชาชีพจัดซื้อฯ

บจก.อัลฟ่า แมเนจเมนท์ คอนซัลแตนท์

นายกสมาคมคนแรก (พ.ศ.2531-2549

สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

คนไทยคนแรกที่ได้รับวุฒิบัตร C.P.M. และ A.P.P.

จากสหรัฐอเมริกา และ MCIPS กิตติมศักดิ์จากอังกฤษ

ได้รับประกาศนียบัตร Lead Assessor for ISO-9000

จากสถาบัน IQC ของอังกฤษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันเวลาและสถานที่อบรม

รุ่นที่่ 25  -  วัน... / เวลา 09.00-16.00 น.

ณ โรงแรมรอแยลเบญจา (สุขุมวิท 5 / ลง BTS สถานีนานา)

 

 

 

อัตราค่าสัมมนา

เข้าสัมมนา 1 วัน ท่านละ 3,900+VAT273 =  4,173 - (หัก ณ ที่จ่าย) 117 = 4,056 บาท

เข้าสัมมนา 2 วัน ท่านละ 7,000+VAT490 =  7,490 - (หัก ณ ที่จ่าย) 210 = 7,280 บาท

รวมเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารว่างและอาหารกลางวัน

ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200%

ทุกหลักสูตรจะมอบประกาศนียบัตร Certificate of Attendance ให้กับผู้เข้าสัมมนา